Categories
ข่าวสาร งานวิจัย/วิชาการ

รายงานผู้ตรวจการพิเศษแห่งสหประชาชาติ

รายงานของผู้ตรวจการพิเศษแห่งสหประชาชาติ

              เรื่องสิทธิมนุษยชนในการมีน้ำดื่มสะอาดและสุขอนามัย

            เมื่อช่วงต้นปี 2556 คุณแคทเธอรีนา เดอ อัลเบริ์ก (Cartarina de Albuquerque) ผู้ตรวจการพิเศษแห่งสหประชาชาติเรื่องสิทธิมนุษยชนในการมีน้ำดื่มสะอาดและสุขอนามัย  ได้เดินทางมายังประเทศไทยเพื่อพบปะพูดคุยกับฝ่ายต่าง ๆ ที่มีหน้าที่หรือทำงานเกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าว

Categories
ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์

ยื่นหนังสือถึงนายกฯ ขอให้ตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อตรวจสอบกรณีน้ำมันปตท.รั่ว

 .

เขียนที่ มูลนิธิบูรณะนิเวศ

211/2  ถ.งามวงศ์วาน

ซ.31 อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000

 
                                                                                 27 สิงหาคม 2556
 
เรื่อง     ขอให้ตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อตรวจสอบกรณีบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ทำน้ำมันรั่วไหลลงสู่ทะเล
เรียน     ท่านนายกรัฐมนตรี
 
สืบเนื่องจากกรณีท่อน้ำมันดิบของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (พีทีทีจีซี) รั่วไหลลงสู่ทะเลในพื้นที่ จังหวัดระยอง ตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2556 ทำให้น้ำมันดิบจำนวนมากไหลลงสู่ทะเลโดยกระจายครอบคลุมพื้นที่ทะเลเป็นบริเวณกว้างและในเวลาต่อมาคราบน้ำมันได้ถูกพัดพาเข้าสู่ชายหาดบริเวณ อ่าวพร้าว เกาะเสม็ด  ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล การท่องเที่ยว และวิถีชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว

Categories
ข่าวสาร

แถลงข่าวกรณีตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อตรวจสอบน้ำมัน ปตท. รั่ว

ใบแถลงข่าวกรณีตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อตรวจสอบน้ำมัน ปตท. รั่ว

 

                สืบเนื่องจากกรณีท่อน้ำมันดิบของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (พีทีทีจีซี) รั่วไหลลงสู่ทะเลในพื้นที่ จังหวัดระยอง ตั้งแต่วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ทำให้น้ำมันดิบจำนวนมากไหลลงสู่ทะเลโดยกระจายครอบคลุมพื้นที่ทะเลเป็นบริเวณกว้างและในเวลาต่อมาคราบน้ำมันได้ถูกพัดพาเข้าสู่ชายหาดบริเวณ อ่าวพร้าว เกาะเสม็ด  ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล การท่องเที่ยว และวิถีชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว 

Categories
ข่าวสาร คู่มือ สื่อเพื่อการเผยแพร่

หลักและวิธีการในการใช้สิทธิของประชาชน เมื่อได้รับความเสียหายจากกรณีการรั่วไหลของน้ำมันในทะเล

หลักและวิธีการในการใช้สิทธิของประชาชน

เมื่อได้รับความเสียหายจากกรณีการรั่วไหลของน้ำมันในทะเล

 

  • รวบรวมข้อมูลความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยสามารถแบ่งกลุ่มผลกระทบได้ดังนี้
    1.  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  ผลกระทบที่เกิดกับระบบนิเวศทางทะเล สัตว์น้ำ ชายหาด

Categories
ข่าวสาร คดีสิ่งแวดล้อม

คดีเจริญ วัดอักษร: 9 ปี กับการเพรียกหาความยุติธรรม


ณ ค่ำคืนวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๔๗  คุณเจริญ  วัดอักษร  สามัญชนผู้ยืนหยัดต่อสู้เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร  ในพื้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์  ได้จากโลกนี้ไปด้วยฝีมือของผู้เสียผลประโยชน์จากการต่อสู้เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรของเขา  ณ วันนี้ครอบครัวของคุณเจริญ นำโดยคุณกระรอก  วัดอักษร ภรรยาและประชาชนในพื้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์   ยังคงร่วมกันสานต่อความตั้งใจในการปกป้องสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรของคุณเจริญ  มาอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตามแม้การสานต่อความตั้งใจของคุณเจริญ จะดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและเข้มแข็งขึ้นเรื่อย ๆ   แต่สิ่งที่ครอบครัวคุณเจริญและกลุ่มอนุรักษ์ยังคงเรียกร้องมาอย่างต่อเนื่องและยังไม่ได้รับคำตอบที่น่าพอใจ  คือ  ความจริงและความยุติธรรมต่อการตายของคุณเจริญ  ตลอดระยะเวลา ๙ ปี นับแต่คุณเจริญจากไป  ครอบครัวและเครือข่ายอนุรักษ์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ได้ร่วมกันเรียกร้องให้มีการพิสูจน์ความจริงที่เกิดขึ้นและนำคนผิดมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม

แม้ความหวังดังกล่าวดูเหมือนจะได้รับคำตอบบางส่วนจากกระบวนการยุติธรรมเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยบางคน   อย่างไรก็ตามเมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์กาลกลับตาลปัตร  ศาลอุทธรณ์กลับยกฟ้องโดยเห็นว่าจำเลยทั้งหมดไม่ใช่ผู้กระทำความผิด   คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ถูกตั้งคำถามจากสาธารณชนและครอบครัวของคุณเจริญ  ถึงความสมเหตุสมผลในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานและการให้เหตุผลในคำพิพากษาอย่างมาก  ขณะเดียวกันเสียงเรียกร้องความยุติธรรมจากครอบครัวและกลุ่มอนุรักษ์ก็ดังเซ็งแซ่สะท้านสะเทือนกระบวนการยุติธรรมอย่างมากมาจนถึงปัจจุบัน

คำถาม ณ วันนี้จึงมีว่า  ถึงที่สุดแล้วกรณีของคุณเจริญ วัดอักษร  ความอยุติธรรมจะมีชัยเหนือความยุติธรรมอีกครั้งหรือไม่   ซึ่งกว่าจะตอบคำถามนี้ได้  อาจต้องติดตามผลของคำพิพากษาศาลฎีกาอันเป็นศาลสูงสุดต่อไป  อย่างไรก็ตามผู้สนใจกระบวนการยุติธรรมเกี่ยวกับเรื่องนี้สามารถติดตามอ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์  ประกอบการการใคร่ครวญเรื่องความยุติธรรมและความอยุติธรรม ได้ที่นี่  ส่วนคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจะนำมาเผยแพร่ในภายหลัง

                                                                                              

 
 
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีลอบฆ่าคุณเจริญ วัดอักษร

Categories
ข่าวสาร งานวิจัย/วิชาการ

งานแปลเรื่อง “ผู้พิพากษาศาลปกครองและกฎหมายสิ่งแวดล้อม”

 
เป็นที่ทราบกันดีว่าศาลปกครองไทยเป็นศาลระบบใหม่ในประเทศไทยที่มีอายุการเปิดทำการเพียง 12 ปีเมื่อเปรียบเทียบกับศาลยุติธรรมที่ดำรงสืบเนื่องไม่ขาดสายมากว่า 130 ปี นั้นก็ยิ่งทำให้เห็นได้ถึงความใหม่และในอีกแง่หนึ่งย่อมหมายถึงประสบการณ์ที่น้อยกว่าศาลยุติธรรมอย่างชัดเจน
อย่างไรก็ตามแม้ศาลปกครองจะเพิ่งเปิดดำเนินการได้ไม่นานแต่ที่ผ่านมาศาลปกครองก็ได้ทำหน้าที่ควบคุมตรวจสอบการกระทำทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายผ่านคำพิพากษาและคำสั่งจำนวนมาก แม้คำพิพากษาหรือคำสั่งจำนวนหนึ่งจะถูกตั้งคำถามจากทั้งนักวิชาการและสังคมถึงความชอบด้วยเหตุผลและหลักวิชาการแต่โดยภาพรวมแล้วต้องถือว่าศาลปกครองทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ดีพอสมควร ส่งผลให้ศาลปกครองเป็นที่รู้จักและยอมรับจากสังคมรวมทั้งเป็นที่พึ่งของประชาชนมากขึ้นเป็นลำดับ
ในฐานะที่เป็นศาลที่ตั้งขึ้นใหม่ซึ่งต้องเผชิญกับปัญหา อุปสรรคจำนวนมาก  สิ่งที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ศาลปกครองมีวิธีการแสวงหาความรู้เพื่อมาจัดการปัญหาดังกล่าวอย่างไร  จนทำให้เป็นที่ยอมรับของสังคมดังเช่นที่เป็นอยู่ จากการพยายามแสวงหาคำตอบดังกล่าวทำให้ผู้เขียนได้พบว่าหนึ่งในวิธีการแสวงหาความรู้ของศาลปกครองไทยที่น่าสนใจอย่างยิ่ง คือการเข้าร่วมประชุมและเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมศาลปกครองสูงสุดระหว่างประเทศ  (International Association of Supreme Administrative Jurisdictions)เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับศาลปกครองในประเทศต่างๆ ทั้งที่ก่อตั้งมาก่อนและหลังศาลปกครองไทย ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าสมาคมดังกล่าวเป็นแหล่งเรียนรู้ที่อุดมไปด้วยประสบการณ์และองค์ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายปกครอง ศาลปกครอง วิธีพิจารณาคดีปกครอง และคำพิพากษาศาลปกครองในระดับโลก
กล่าวถึงสมาคมศาลปกครองสูงสุดระหว่างประเทศนั้น  เป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1983 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนแนวความคิดและประสบการณ์ระหว่างศาลปกครอง เสริมสร้างความเข้มแข็งในการพิจารณาคดี  โดยมีสมาชิกรุ่นก่อตั้งจำนวน 25 ประเทศ (ปัจจุบันมีสมาชิกมากกว่า 100 ประเทศรวมถึงองค์การระหว่างประเทศ)และมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่สภาแห่งรัฐในกรุงปารีส  โดยทั่วไปแล้วสมาคมฯ จะจัดการประชุมทั่วไปทุก ๆ 3 ปี โดยยกเอาประเด็นที่มีความสำคัญเกี่ยวกับการพิจารณาคดีของศาลปกครองขึ้นมาเป็นวาระในการประชุมเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และองค์ความรู้ในเรื่องดังกล่าว  โดยก่อนประชุมจะมีการส่งแบบสอบถามเพื่อให้แต่ละประเทศทำรายงานในเรื่องที่เกี่ยวกับวาระการประชุมแล้วส่งไปยังผู้จัดเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดประชุม จากนั้นจึงนำรายงานของประเทศต่าง ๆ มาจัดทำเป็นรายงานทั่วไปเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะ รายงานทั่วไปของการประชุมในแต่ละครั้งจึงเป็นเอกสารที่น่าสนใจศึกษาเป็นอย่างยิ่ง  เพราะเป็นเอกสารที่เกิดจากการสังเคราะห์ประสบการณ์และแนวคิดของศาลปกครองทั่วโลก  ในขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของแนวความคิดทั้งที่เป็นกระแสหลักและกระแสรองในเรื่องดังกล่าวด้วย ตัวอย่างวาระการประชุมที่ผ่านมาของสมาคม ฯ เช่น การนำกฎหมายระหว่างประเทศมาปรับใช้ในการพิจารณาคดีปกครอง (การประชุมครั้งที่ 6 ค.ศ. 1998) การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยศาลปกครอง (การประชุมครั้งที่ 7 ค.ศ.2001) การบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลปกครอง (การประชุมครั้งที่ 8 ค.ศ. 2004) เป็นต้น

กล่าวเฉพาะครั้งล่าสุดนี้มีวาระการประชุมเรื่อง “ผู้พิพากษาศาลปกครองกับกฎหมายสิ่งแวดล้อม”  ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าเป็นวาระที่น่าสนใจเป็นพิเศษสำหรับผู้ที่สนใจในกระบวนการยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากในช่วงหลายปีที่ผ่านมาศาลปกครองไทยได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการจัดการปัญหาความขัดแย้งทางสิ่งแวดล้อมผ่านการตัดสินคดีสิ่งแวดล้อมที่สำคัญผู้เขียนตัดสินใจแปลงานชิ้นนี้ทั้งที่รู้ถึงข้อจำกัดด้านภาษาของตนดี  ก็เพราะเห็นว่าการถ่ายทอดองค์ความรู้ในเรื่องดังกล่าวให้กับนักกฎหมายสิ่งแวดล้อม นักสิ่งแวดล้อมและประชาชนทั่วไปในประเทศไทยคงจะช่วยขยายพรมแดนความรู้ของเราให้กว้างขึ้น  ทั้งนี้ด้วยหวังว่าองค์ความรู้จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สังคมของเราไปถึงความยุติธรรมทางสังคมและสิ่งแวดล้อม หากมีความผิดพลาดในการถ่ายทอดเนื้อหาประการใดผู้เขียนขอน้อมรับเพื่อนำไปปรับปรุงและต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์

ทนายความประจำมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม

งานแปลเรื่อง “ผู้พิพากษาศาลปกครองและกฎหมายสิ่งแวดล้อม” คลิกที่นี่
ต้นฉบับภาษาอังกฤษ คลิกที่นี่

Categories
EnLAW กับสื่อสาธารณะ ข่าวสาร

มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม จัดอบรมการดำเนินคดีปกครองด้านสิ่งแวดล้อม

 

มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อมจัดอบรมการดำเนินคดีปกครองด้านสิ่งแวดล้อมครั้งที่ 4: เปิดความรู้ทางทฤษฎี สู่การฝึกฝนจริงในภาคปฏิบัติ

           เมื่อวันที่ 22-24 มีนาคม 2556 มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม(EnLAW) ได้จัดอบรมการดำเนินคดีปกครองด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติให้แก่นักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เป็นครั้งที่ 4 ที่บ้านพักนานาชาติ บ้านสบาย

          งานอบรมครั้งนี้มีขึ้นเพื่อเสริมความรู้ในเรื่องการดำเนินคดี และกระบวนการพิจารณาคดีปกครองด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นขั้นตอน โดยผู้เข้าร่วมจะได้ฝึกเขียนคำฟ้อง คำร้องจากกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง โดยกลุ่มเป้าหมายหลักในปีนี้คือ อาสาสมัครนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ของมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม รุ่นที่ 7 และองค์กรเครือข่ายที่ดำเนินคดีปกครองด้านสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน

ปูฐานคิด และทฤษฎี ก่อนลงมือ
          การอบรมในเช้าวันแรกเริ่มโดยคุณสุมิตรชัย หัตถสาร ผู้อำนวยการศูนย์พิทักษ์และ
ฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่นและคุณสุรชัยตรงงาม เลขาธิการมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม ซึ่งร่วมกันถ่ายทอดประสบการณ์การดำเนินคดีปกครองเพื่อประโยชน์สาธารณะและการฟ้องคดียุทธศาสตร์เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายและปรับปรุงกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม อันทำให้เห็นแง่มุมการทำคดีที่กว้างไปกว่าการมองเฉพาะรายกรณีเท่านั้น
   ต่อมาช่วงบ่ายคุณสุรชัย ตรงงาม และคุณสงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ ทนายความประจำมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม ได้บรรยายให้ความรู้ในเรื่อง “เงื่อนไขความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง” “ประเภทคดีปกครอง” และ “การเตรียมการเพื่อดำเนินคดีปกครองภาคปฏิบัติ” เพื่อปูพื้นฐานความรู้ทางทฤษฎีให้กับผู้เข้าร่วม
          ในช่วงค่ำเป็นโอกาสดีที่นักกฎหมายสิ่งแวดล้อมรุ่นเยาว์จะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักสิ่งแวดล้อมรุ่นใหญ่ในบรรยากาศสบายๆ ในหัวข้อ “บทบาทของนักกฎหมายในการร่วมสร้างความเป็นธรรมทางสิ่งแวดล้อม” โดยมีคุณไพโรจน์  พลเพชร คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย, คุณแสงชัย รัตนเสรีวงษ์กรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ, คุณเดชรัตน์ สุขกำเนิดคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคุณสุมิตรชัย หัตถสารซึ่งเป็นนักวิชาการและนักกฎหมายที่มีความอาวุโสทั้งความรู้และประสบการณ์ในการทำคดีปกครองด้านสิ่งแวดล้อม  การผลักดันสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชน มาเป็นวิทยากร

         ในวันที่สอง ท่านไพโรจน์ มินเด็น ตุลาการศาลปกครองกลางได้มาเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้เข้าอบรมในหัวข้อ “เงื่อนไขการรับฟ้องและการคุ้มครองชั่วคราวในคดีปกครองด้านสิ่งแวดล้อม”และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้ซักถามแลกเปลี่ยนในระหว่างการบรรยายอย่างกว้างขวางทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ที่สำคัญในการดำเนินคดีปกครองด้านสิ่งแวดล้อม อันได้แก่ หลักการพิจารณาเรื่องความสมบูรณ์ของคำฟ้อง เรื่องผู้มีสิทธิฟ้อง เรื่องการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล เรื่องการกำหนดมาตรการชั่วคราว การแสวงหาข้อเท็จจริง และการวินิจฉัยกำหนดคำบังคับของศาล

ได้เวลาปฏิบัติจริง!

 หลังจากได้ฟังทั้งแง่คิดในการทำคดี และความรู้ทางทฤษฎีแล้ว ก็ถึงช่วงสำคัญที่ผู้เข้าร่วมจะได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยเริ่มที่การแบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่มตามความสนใจในแต่ละกรณีศึกษา โดยในปีนี้แบ่งออกเป็น 3 กรณีคือ

 1. กรณีการลักลอบทิ้งกากของเสียอุตสาหกรรม

 2. กรณีการประกาศใช้ผังเมืองรวมล่าช้า

 3. กรณีการสร้างโรงงาน ใกล้พื้นที่ชุ่มน้ำ

            หลังจากผ่านการพูดคุยกันอย่างขะมักเขม้นมีการแบ่งงานกันทำ และกลั่นกรองออกมาจนกลายเป็นคำฟ้องและคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวแล้ว ผู้เข้าร่วมอบรมทั้ง 3 กลุ่มจึงนำเสนอผลงานของตน โดยเริ่มจากการสรุปข้อเท็จที่เป็นประเด็นสำคัญในคดี และนำเสนอคำฟ้องและคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวที่ได้ร่วมกันร่างโดยมีผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในทางกฎหมายปกครอง ทั้งคุณไพโรจน์ พลเพชร,คุณแสงชัย รัตนเสรีวงษ์,คุณสุมิตรชัย หัตถสาร,คุณสุรชัย ตรงงาม, คุณอภิราช ขันธเสน พนักงานคดีปกครอง และคุณสงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ ร่วมให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป

          ช่วงสุดท้ายของการอบรม ผู้เข้าร่วมอบรมทุกท่านได้กล่าวถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการอบรมในครั้งนี้ และข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการจัดอบรมให้ดีขึ้นในครั้งต่อไป โดยผู้เข้าร่วมอบรมทุกท่านเห็นร่วมกันว่า ได้รับความรู้ในการดำเนินคดีปกครองด้านสิ่งแวดล้อม บางท่านแม้เคยเข้าร่วมมาแล้วหลายครั้งแต่ด้วยกรณีศึกษาที่แตกต่างกันก็ทำให้ได้รับความรู้มากขึ้นเสมอ ส่วนข้อเสนอเพื่อปรับปรุงการจัดอบรมครั้งต่อไปให้ดีขึ้น ได้แก่  ข้อเสนอให้มีการส่งโจทย์ในการทำให้ก่อนเข้าร่วมอบรมเพื่อที่จะได้อ่านทำความเข้าใจและเตรียมตัวมาก่อนเข้าร่วมอบรม ข้อเสนอให้ขยายผู้เข้าร่วมอบรมให้กว้างและหลากหลายมากขึ้น  ข้อเสนอเรื่องความเหมาะสมของเวลาและเนื้อหาในการจัดอบรม หลังจากนั้นวิทยากรและผู้เข้ารับการอบรมจึงถ่ายภาพร่วมกัน

 ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย ได้ดังนี้

1. “ประสบการณ์การดำเนินคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม" โดย คุณสุรชัย ตรงงาม เลขาธิการมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม

2. .“ประเภทของคดีปกครอง และการเตรียมการเพื่อดำเนินคดีปกครองภาคปฏิบัติ” และ “เงื่อนไขแห่งความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง” โดยคุณสงกรานต์ ป้องบุญจันทร์  ทนายความประจำ มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม

3.“เงื่อนไขการรับฟ้องและการคุ้มครองชั่วคราวในคดีปกครองด้านสิ่งแวดล้อม” โดยท่านไพโรจน์ มินเด็น ตุลาการศาลปกครอง

Categories
ข่าวสาร

นั่งพิจารณาคดีครั้งแรกคดีอีไอเอท่อก๊าซ ตุลาการให้รัฐทบทวนอีไอเอ ชี้ขาดประเด็นสังคม

เมื่อวันที่ 26 มี.ค.2556 เวลา 9.30 น. ศาลปกครองสูงสุดนัดนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก คดีหมายเลขดำที่ 43/2547 ซึ่งนายกิตติภพ สุทธิสว่าง ที่ 1 กับพวกรวม 17 คน ยื่นฟ้อง กรมการขนส่งทางน้ำและพานิชย์นาวี(ปัจจุบันคือ กรมเจ้าท่า) คณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ (คชก.) และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อขอให้เพิกถอนมติของคณะกรรมการผู้ชำนาญการที่ให้ความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) และขอให้เพิกถอนใบอนุญาตปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำของโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย เนื่องจากอาศัยข้อมูลจากรายงาน EIA ที่ยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากคชก. ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งไม่แจ้งให้องค์การบริหารส่วนตำบลสะกอมพิจารณาให้ความเห็นและมีส่วนร่วมในการอนุญาต และไม่ได้นำข้อสรุปและข้อเสนอแนะตามรายงานผลการประชาพิจารณ์ เข้าประกอบการพิจารณาอนุญาต

รูปนัดนั่งอีไอเอท่อก๊าซ1

ชาวบ้านกว่าร้อยคน เข้าร่วมการพิจารณาคดีในครั้งนี้ โดยนายนาซอรี หวะหลำ ผู้ฟ้องคดีที่ ๑๒ ตัวแทนชาวบ้านแถลงต่อศาลว่า โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย สร้างความแตกแยกให้กับชุมชน และส่งผลกระทบต่อประมงพื้นบ้าน นอกจากนี้ที่ตั้งของโรงแยกก๊าซยังอยู่ในพื้นที่วะกัฟ ซึ่งเป็นที่สาธารณะที่ชาวมุสลิมอุทิศให้มนุษยชาติ การก่อสร้างดังกล่าวนอกจากจะขัดกฎหมายบ้านเมืองแล้วยังขัดต่อความเชื่อทางศาสนาอิสลามด้วย
 
011จากนั้นนายภานุพันธ์ ชัยรัต ตุลาการผู้แถลงคดี ได้แถลงความเห็นต่อคดีนี้ว่า รายงาน EIA เป็นเอกสารมหาชนที่ต้องถูกตรวจสอบความถูกต้องจากสังคมโดยทั่วไป หากรายงาน EIA เป็นเท็จ และมีการนำไปประกอบการอนุญาตโครงการ จะส่งผลเสียหายต่อสุขภาพ คุณภาพชีวิตของประชาชน และดุลยภาพของธรรมชาติ ดังนั้น มติการให้ความเห็นชอบรายงาน EIA ย่อมถือเป็นการกระทำอื่นใดทางปกครองที่ศาลมีอำนาจตรวจสอบได้ และเนื่องจากผู้ฟ้องคดีตั้งถิ่นฐานในแถบพื้นที่โครงการ ผู้ฟ้องคดีจึงเป็นผู้เสียหายที่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ นอกจากนี้ เมื่อ โครงการนี้อาจกระทบต่อสัตว์น้ำในทะเล การฟ้องของผู้เสียหายจึงเป็นการฟ้องแทนสัตว์น้ำเหล่านั้น ทั้งยังเป็นการฟ้องเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมแทนรัฐ ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535
 
ดังนี้ เมื่อคณะกรรมการผู้ชำนาญการไม่ได้ให้ความเห็นชอบรายงาน EIA ในประเด็นด้านสังคม จึงถือว่า มติดังกล่าวไม่ครบถ้วนตามที่พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมฯ กำหนดไว้ รายงาน EIA ที่กรมเจ้าท่านำไปประกอบการออกใบอนุญาตจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย นอกจากนี้ การพิจารณาออกใบอนุญาตไม่จำเป็นต้องรับฟังความเห็นอบต. ส่วนการรับฟังประชาพิจารณ์ รายงาน EIA ได้ระบุผลการประชาพิจารณ์ไว้อยู่แล้ว ดังนั้น จึงเห็นควรให้คณะกรรมการผู้ชำนาญการกลับไปพิจารณาประเด็นด้านสังคมเพิ่มเติม และเสนอมาตรการป้องกันและแก้ไขทางสังคมให้กรมเจ้าท่านำไปเพิ่มในใบอนุญาตและแจ้งให้บริษัทปฏิบัติตาม ภายในระยะเวลา๑๘๐ วัน 
หลังกระบวนการพิจารณา ชาวบ้านแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า รายงาน EIA คือ 012สิ่งที่นำเชื้อโรค นำอาวุธร้ายมาฆ่าประชาชนทางอ้อม ไม่ว่าโรงแยกก๊าซ หรือท่อส่งก๊าซ เป็นหัวใจหลักของอุตสาหกรรม สิ่งที่จะตามมาหลังจากนั้น คือ ท่าเรือน้ำลึก รถไฟ ความเร็วสูง คลังน้ำมัน ที่ชาวบ้านมาวันนี้ เรื่องสำคัญคือ รายงาน EIA ยังไม่ผ่านความเห็นชอบทางสังคม
หม่อมหลวงวัลย์วิภา จรูญโรจน์ อดีตคณะกรรมการผู้ชำนาญการหนึ่งเดียวที่ไม่ให้ความเห็นชอบรายงาน EIA ของโครงการนี้ กล่าวว่า การประเมินผลกระทบทางสังคม หรือ SIA ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาในรายงาน EIA แม้ในตอนหลังจะเพิ่มการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) แต่สุขภาพของคนไม่ใช่ผลกระทบทั้งหมดที่จะเกิดจากการดำเนินโครงการ บริบททางสังคมที่กระทบต่อคนเป็นสิ่งสำคัญ
 
013นายสุรชัย ตรงงาม เลขาธิการมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม ในฐานะผู้รับมอบอำนาจผู้ฟ้องคดี ให้ความเห็นว่า แถลงการณ์ของตุลาการผู้แถลงคดีได้วางหลักคดีปกครองด้านสิ่งแวดล้อมที่กำหนดให้ชุมชนสามารถฟ้องศาลปกครองเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของรายงาน EIA ได้ตั้งแต่ต้นโดยไม่จำเป็นต้องรอให้มีใบอนุญาตโครงการเช่นในอดีต
อย่างไรก็ตาม การพิจารณาของตุลาการผู้แถลงคดีในวันนี้ ไม่ผูกพันองค์คณะตุลาการเจ้าของคดีในการทำคำพิพากษา หลังจากนี้ ยังต้องติดตามว่า ตุลาการจะมีคำพิพากษาวางบรรทัดฐานการพิจารณารายงาน EIA และการออกใบอนุญาตของหน่วยงานรัฐอย่างไรต่อไป

Categories
ข่าวสาร คดีสิ่งแวดล้อม

เปิดแฟ้มคดีเพิกถอนใบอนุญาตโรงไฟฟ้าหนองแซง: 2 ประเด็นสำคัญที่ศาลไม่วินิจฉัย

ปลายปี 2553 หลังจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานได้ออกใบอนุญาตให้บริษัท เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น ซัพพลาย จำกัด (ปัจจุบันคือ บริษัท กัลฟ์ เจพีเอ็นเอส จำกัด) สร้างโรงไฟฟ้าหนองแซงในเขตพื้นที่อ.หนองแซง จ.สระบุรี และอ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา เครือข่ายอนุรักษ์วิถีเกษตรกรรม ซึ่งประกอบด้วยชาวบ้านจากอ.หนองแซง และอ.ภาชี ได้นำข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่บ่งชี้ว่ากระบวนการออกใบอนุญาตดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลปกครอง ส่วนหนึ่งเพื่อเสนอความจริงให้ปรากฏ ส่วนหนึ่งเพื่อแสดงถึงสิทธิของตนที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐในการคุ้มครอง ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ชุมชนดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติในสิ่งแวดล้อมที่ดีบนผืนแผ่นดินเกิด

Categories
ข่าวสาร

ศาลปกครองยกฟ้อง! คดีเพิกถอนใบอนุญาตโรงไฟฟ้าหนองแซง

ศาลปกครองยกฟ้อง! คดีเพิกถอนใบอนุญาตโรงไฟฟ้าหนองแซง ชี้ ผังเมืองยังไม่ประกาศ ผลกระทบป้องกันได้

เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2556 เวลา 10.00 น. ณ ห้องพิจารณาคดี 7 ศาลปกครองกลางพิพากษายกฟ้อง ในคดีหมายเลขแดงที่ 126/2556 ซึ่งนายตี๋ ตรัยรัตนแสงมณี ที่ 1 กับพวกรวม 61 คน ยื่นฟ้อง คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.)